ฟังวิทยุออนไลน์

ยกระดับค่าจ้างแรงงานมาตรฐานฝีมือ และเห็นชอบคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย

ครม.เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 สาขาอาชีพ รวม 17 สาขา ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ครั้งที่ 11/2565 โดยกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 17 สาขา ดังนี้
กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ
1. สาขาช่างระบบส่งถ่ายกำลัง ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ระดับ 1)
495 บาทต่อวัน
2. สาขาช่างระบบปั๊มและวาล์ว
515 บาทต่อวัน
3. สาขาช่างประกอบโครงสร้างเหล็ก
500 บาทต่อวัน
4. สาขาช่างปรับ
500 บาทต่อวัน
5. สาขาผู้ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก - แม็ก ด้วยหุ่นยนต์
520 บาทต่อวัน
6. สาขาช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรมค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
(ระดับ 1) 545 บาทต่อวัน
(ระดับ 2) 635 บาทต่อวัน
(ระดับ 3) 715 บาทต่อวัน
กลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล
1. สาขาช่างซ่อมรถแทรกเตอร์การเกษตร ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
(ระดับ 1) 465 บาทต่อวัน
(ระดับ 2) 535 บาทต่อวัน
(ระดับ 3) 620 บาทต่อวัน
2. สาขาพนักงานควบคุมเครื่องจักรรถตักหน้าขุดหลัง
585 บาทต่อวัน
3. สาขาพนักงานควบคุมเครื่องจักรรถขุด
570 บาทต่อวัน
4. สาขาพนักงานควบคุมเครื่องจักรรถลากจูง
555 บาทต่อวัน
(โดยปรับขึ้นจากเดิม 550 บาทต่อวัน)
5. สาขาพนักงานควบคุมเครื่องจักรรถตัก
520 บาทต่อวัน
กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ
1. สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (โภชนบำบัด) ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
(ระดับ 1) 500 บาทต่อวัน
(ระดับ 2) 600 บาทต่อวัน
2. สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (วารีบำบัด)
(ระดับ 1) 500 บาทต่อวัน
(ระดับ 2) 600 บาทต่อวัน
3. สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (สุคนธบำบัด)
(ระดับ 1) 500 บาทต่อวัน
(ระดับ 2) 600 บาทต่อวัน
4. สาขาพนักงานผสมเครื่องดื่ม
(ระดับ 1) 475 บาทต่อวัน
(ระดับ 2) 525 บาทต่อวัน
(ระดับ 3) 600 บาทต่อวัน
5. สาขาการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
530 บาทต่อวัน
6. สาขาช่างเครื่องช่วยคนพิการ
(ระดับ 1) 520 บาทต่อวัน
(ระดับ 2) 600 บาทต่อวัน
ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือจะมีผลใช้บังคับ 90 วันหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เมื่อประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามไม่ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนด หากนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ได้มีการประกาศก่อนหน้านี้แล้ว 112 สาขา และเมื่อมีประกาศเพิ่มอีก 17 สาขา รวมเป็น 129 สาขา ทำให้ครอบคลุมสาขาอาชีพที่ต้องการแรงงานฝีมือแรงงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งในอนาคตเราต้องเร่งผลิตแรงงานเติมให้กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งกระจายไปในภาคอุตสาหกรรมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอุปโภคบริโภค และดิจิทัล ที่มีอัตราการแข่งขันสูงในตลาด เนื่องจากการดิสรัปของเทคโนโลยีและความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่กระตุ้นตลาดผู้บริโภคในอนาคต ส่งผลให้มีความต้องการแรงงานอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดครม.เห็นชอบกำหนดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายในระยะแรกสำหรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.)ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เน้นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) และอุตสาหกรรม เกษตรและอาหาร
2.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย เน้นอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
3.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (CWEC) ประกอบ ด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรบุรี และกาญจนบุรี เน้นอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
4.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เน้นอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)
ทั้งนี้ยังมีมติเห็นชอบการขยายกิจการเป้าหมายและสิทธิประโยชน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จากเดิม 72 ประเภทกิจการ ขยายเป็น 89 ประเภทกิจการ โดยมี 17 ประเภทกิจการที่เสนอเพิ่มเติม ดังนี้ 1.กิจการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือสัตว์ (ที่ไม่เข้าข่ายกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ) 2. กิจการประมงน้ำลึก 3. กิจการผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ 4. กิจการผลิตเชื้อเพลิงหรือแอลกอฮอล์ ทางการแพทย์ (Pharmaceutical Grade) จากผลผลิตทางการเกษตร

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar