ฟังวิทยุออนไลน์

แนวทางการปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชน ตามประกาศของ กสทช.

สำนักงาน กสทช.ได้ออกประกาศแนวทางการนำเสนอเนื้อหารายการในบริบทการเลือกตั้งในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในหมวดที่ 2 และ หมวดที่ 3 ดังนี้
2️หมวด 2 ข้อพึงต้องปฏิบัติ
1. การนำเสนอข่าว รายการ เผยแพร่ผลโพลต้องยึดตามระเบียบ กกต.เป็นหลัก
2. การนำเสนอข่าว รายการ ต้องตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลลวงหรือเนื้อหาบิดเบือนก่อนนำเสนอ
3. ต้องไม่ใช้ความรู้สึกหรือแทรกความคิดเห็นส่วนตัวเพื่อโน้มน้าวใจ ให้เชื่อ หรือชี้นำผลการเลือกตั้ง
4. ไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองอันเป็นการโจมตีหรือสร้างความได้เปรียบทางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ต้องพยายามจัดสรรพื้นที่และเวลาให้ทุกพรรคอย่างสมดุลและเป็นธรรม
6. ต้องไม่ใช้ภาษา ถ้อยคำ น้ำเสียง หรือภาพข่าวที่รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม อันเป็นการละเมิดหรือสร้างความเกลียดชังต่อบุคคลในข่าว แขกรับเชิญ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกฝ่ายและบุคคลที่สาม
3️หมวด 3 ข้อพึงระมัดระวังและใส่ใจเป็นพิเศษ
1. การยืนยันว่าผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดชนะการเลือกตั้ง หากเป็นการคาดการณ์ต้องอ้างแหล่งที่มาและมีหลักฐานชัดเจน
2. การนำเสนอผลโพล ควรอ้างแหล่งที่มา ไม่ชี้นำผลการเลือกตั้ง พิจารณาประเด็นคำถามในการสำรวจอย่างรอบคอบ
3. การเผยแพร่ผลโพล เป็นเพียงการสุ่ม มิใช่ความเห็นของคนส่วนใหญ่ ควรพิจารณาความเหมาะสม หากมีความจำเป็นควรขึ้นข้อความชี้แจง หรือแจ้งผู้ชมผู้ฟังทราบก่อน
4. การสำรวจหรือโพล เป็นเพียง "ความน่าจะเป็น" สื่อมวลชนควรเลือกใช้ภาษาที่ไม่ทำให้เชื่อว่าจะเป็นจริงตามผลสำรวจ
5. การวิเคราะห์ข่าวเชิงลึกเพื่อให้ผู้ชมผู้ฟังได้รับข่าวสารที่หลากหลาย
6. การใช้คำถามเชิงโน้มน้าว ชี้นำ หรือตัดสินด้วยอคติ อันจะสร้างความได้เปรียบทางการเมือง
7. การเลือกแขกรับเชิญ หรือสัมภาษณ์ควรมีความน่าเชื่อถือ ด้วยหลักเหตุผลทางวิชาการ และมีหลักฐานสนับสนุน
8. ชี้แจงผู้ชมผู้ฟังทราบว่า เนื้อหาที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริง หรือ เป็นความคิดเห็น เพื่อให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสิน
9. การนำเสนอด้วย อินโฟกราฟิก หรือจำลองสถานการณ์ไม่ควรสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบ
10. การเชิญผู้สมัครเข้าร่วมรายการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง หรือถ่ายทอดสดกิจกรรม อันเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการเมือง โดยเฉพาะในช่วงการหาเสียง
11. การนำเสนอเนื้อหาร้องเรียนผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ควรนำเสนอ ตามข้อเท็จจริง ให้ความเป็นธรรม เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายชี้แจง จนกว่าผลการตัดสินจาก กกต. จะสิ้นสุด
12. ต้องชี้แจง ทำความเข้าใจ ควบคุม แขกรับเชิญหรือผู้ให้สัมภาษณ์ ไม่ให้สร้างความเกลียดชังต่อฝ่ายตรงข้าม ทั้งทางตรง และทางอ้อม ควบคุมประเด็นคำถามให้อยู่ในขอบเขต
13. สื่อมวลชนพึงมีบทบาทในการเฝ้าระวังการเลือกตั้งให้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar