ฟังวิทยุออนไลน์

12 มาตรการรับมือฤดูฝน

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 66 ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 จำนวน 12 มาตรการ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการดังกล่าว เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย
1. คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนทิ้งช่วง (มี.ค. 66 เป็นต้นไป)
2. บริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก และเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ แผนเก็บกักน้ำไว้ใช้ก่อนสิ้นฤดูฝน รวมทั้งหลักเกณฑ์การใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองและการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหาย (ภายใน ส.ค. 66)
3. ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลาง และเขื่อนระบายน้ำ สำหรับใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของกลุ่มลุ่มน้ำและบริหารจัดการน้ำในช่วงภาวะวิกฤติ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)
4. ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)
5. เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ บุคลากร ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)
6. ตรวจความมั่นคงและปลอดภัยคัน/ทำนบ/พนังกั้นน้ำ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน (ก่อนฤดูฝน - ตลอดช่วงฤดูฝน)
7. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำ (ก่อนฤดูฝน - ตลอดช่วงฤดูฝน)
8. ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน)
9. เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน (ต.ค. – พ.ย. 66)
10. สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)
11. สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เครือข่ายต่าง ๆ และประชาชน (ก่อนฤดูฝน - ตลอดช่วงฤดูฝน)
12. ติดตามประเมินผล และปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar