ฟังวิทยุออนไลน์

เกาะติดการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30
ในวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 จะมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (ประชุมร่วม ส.ส. และ ส.ว.) โดยที่ประชุมเตรียมพิจารณา 2 วาระสำคัญคือ
1. การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
2. การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อยกเลิกมาตรา 272 เสนอโดยนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล
การประชุมดังกล่าวเลื่อนมาจากวันที่ 27 ก.ค. 66 หลังจากเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญตีความกรณีรัฐสภาลงมติวินิจฉัยว่าการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็น ‘ญัตติ’ ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมขอให้ศาลสั่งว่าเลื่อนการโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 27 ก.ค. นี้ออกไป จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดออกมา ประธานสภาฯ จึงพิจารณาเห็นควรงดการประชุมรัฐสภาวันที่ 27 ก.ค. ออกไปคาดการณ์ 3 แนวทางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แนวทางที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา โดยไม่สั่งให้รัฐสภาชะลอการประชุมในวันที่ 4 ส.ค.ออกไปก่อน หากเป็นเช่นนี้รัฐสภายังสามารถเดินหน้าประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ แต่แคนดิเดตของพรรคเพื่อไทย อย่างนายเศรษฐา ทวีสิน จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หรือไม่ ต้องไปติดตามในที่ประชุมรัฐสภาอีกครั้ง
แนวทางที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา โดยกำหนดให้รัฐสภาชะลอการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย เช่นนี้รัฐสภาต้องเลื่อนการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และรัฐสภาจะต้องนำเรื่องการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่าด้วยเรื่องการปิดสวิตซ์ สว.
มาพิจารณาแทน
แนวทางที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับไว้พิจารณา และจำหน่ายคำร้องดังกล่าวทิ้งทันที จะมีผลให้รัฐสภาเดินหน้าเลือกนายกรัฐมนตรีได้ตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญต่อไปไร้วี่แวว “ก้าวไกล” ร่วมจัดตั้งรัฐบาล
เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 66 ได้มีการเจรจาร่วมกันระหว่าง พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เพื่อหารือทิศทางการจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงแนวทางการขอเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. และ ส.ส. จากพรรคการเมืองต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุป ก่อนที่จะแจ้งต่อที่ประชุม 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พรรคเพื่อไทย
แจ้งว่า มีความจำเป็นที่จะต้องโหวตนายกฯให้ได้ จึงมีความจำเป็น ต้องให้พรรคก้าวไกลไม่ร่วมในรัฐบาล เพราะ ส.ว. และ ส.ส.ไม่ยอมรับ
ขณะที่พรรคก้าวไกลยืนยัน ไม่ยอมถอยเรื่องนโยบายแก้ไขมาตรา 112 เป็นสาเหตุที่พรรคเพื่อไทย จำเป็นต้องขอสลาย 8 พรรค
ที่ลงนาม MOU ปัจจุบัน โดยจะไปจับขั้วใหม่เพื่อจัดตั้งรัฐบาลเอง
ซึ่งคาดว่าเป็นการฉีก MOU 8 พรรคร่วมอย่างเป็นทางการ เนื่องจากบรรดาพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน 8 พรรคร่วมลงนาม MOU
อีกทั้ง ส.ว. มีความกังวลในเรื่องนี้ จึงยากต่อการจะช่วยโหวตนายกรัฐมนตรีให้กับแคนดิเดตของพรรคเพื่อไทยได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อไทยแจ้งต่อสื่อมวลชนว่าจะมีการประกาศพรรคร่วมรัฐบาลชุดใหม่ในวันที่ 3 ส.ค. 66 เวลา 13.00 น. โดยยืนยันหนักแน่นว่าพรรคที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลจะต้องไม่มีนโยบายในการแก้ไขมาตรา 112
จับตาโหวตนายกฯ ครั้งถัดไป เริ่มต้นใหม่ ร่วมผ่าทางตัน
เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 66 เวลา 14.58 น. เพื่อไทยได้แถลงการณ์
ภารกิจแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ โดยแถลงการณ์ระบุชัดว่า ทางพรรคได้ปรึกษาหารือกับพรรคก้าวไกลขอถอนตัวจากการร่วมมือกันและ เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลพรรคร่วมใหม่ เสนอชื่อ "นายเศรษฐา ทวีสิน " ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยขอยืนยันชัดเจนว่า ไม่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะไม่มีพรรคก้าวไกลอยู่ในพรรคร่วม พรรคเพื่อไทยจะใช้ความพยายามรวบรวมเสียง ให้เพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาลอย่างเหมาะสม และพรรคก้าวไกล จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านและยืนยันจะทำงานการเมืองในมิติใหม่ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและพี่น้องประชาชน ในภารกิจที่สำคัญ ดังนี้
1. เราจะผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอันเป็นต้นเหตุของความยากลำบากในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ และก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ของประเทศ โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยเริ่มจากมติ ครม.ในการประชุมครั้งแรก ให้มีการทำประชามติ และจัดตั้ง สสร. ให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ รัฐบาลจะคืนอำนาจ ให้ประชาชนได้เลือกตั้งใหม่ภายใต้กรอบกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2. นโยบายที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมได้นำเสนอต่อพี่น้องประชาชน ซึ่งมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน อาทิ กฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายสุราก้าวหน้า การปฏิรูประบบราชการ ตำรวจ กองทัพ และกระบวนการยุติธรรม เปลี่ยนการเกณฑ์ทหารแบบบังคับเป็นระบบสมัครใจ ฯลฯ ผลักดันการกระจายอำนาจทั้งในแง่ภารกิจและงบประมาณ ยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในทุกอุตสาหกรรม เป็นต้น ในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพร้อมที่จะผลักดันร่วมกับพรรคร่วมเพื่อให้นโยบายที่เป็น
ประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนดำเนินการได้ประสบความสำเร็จพรรคเพื่อไทย ขอแสดงความจริงใจต่อเพื่อนมิตรทุกพรรคการเมือง และสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งพี่น้องประชาชนว่า นี่คือแนวทางที่จะรักษาสถาบันสำคัญของชาติให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งประเทศ และช่วยผลักดันความต้องการของประชาชน ภายใต้ข้อจำกัดและเส้นทางที่ยากลำบากนี้ไว้ได้ เพื่อให้ภารกิจนำพาประเทศพ้นวิกฤต สร้างสรรค์ประชาธิปไตย แก้ไขความขัดแย้ง คืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ ปลดพันธนาการจากกลไก ที่ไม่ปกติให้คืนสู่ความปกติ และใช้ประสบการณ์ และความสามารถ ของบุคลากรของพรรคเพื่อไทยเร่งแก้วิกฤตเศรษฐกิจและปัญหา ปากท้องของพี่น้องประชาชนโดยเร็ว ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งเป็นกติกาสูงสุดจากอำนาจประชาชน
อย่างไรก็ตาม เมื่ออำนาจในการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลย้ายมาอยู่ในมือของพรรคเพื่อไทย บรรดานักวิเคราะห์ได้ออกมาคาดการณ์สารพัดสูตรจัดรัฐบาล หากยึดตามแนววิเคราะห์ของนายทักษิณที่บอกกับคนใกล้ชิดว่าไม่มีพรรคได้แก่ “พลังประชารัฐ” และ “รวมไทยสร้างชาติ” สูตรจัดรัฐบาลที่เป็นไปได้อาจมี 268 เสียง ในจำนวนนี้เป็น 6 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลเดิม รวม 161 เสียง ยกเว้น พรรคก้าวไกลและพรรค เป็นธรรมที่แสดงจุดยืนไว้ก่อนหน้านี้ว่า "พร้อมเป็นฝ่ายค้านกับก้าวไกล"
รวมกับ 4 พรรคการเมืองขั้วรัฐบาลเดิม ประกอบด้วย ภูมิใจไทย, ประชาธิปัตย์, ชาติไทยพัฒนา และชาติพัฒนากล้า รวม 108 เสียง
สำหรับ 10 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่คาดการณ์ว่าจะ ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย (141 ที่นั่ง), พรรคประชาชาติ (9 ที่นั่ง), พรรคไทยสร้างไทย (6 ที่นั่ง), พรรคเพื่อไทรวมพลัง (2 ที่นั่ง), พรรค เสรีรวมไทย (1 ที่นั่ง), พรรคพลังสังคมใหม่ (1 ที่นั่ง) ร่วมด้วยพรรคภูมิใจไทย (71 ที่นั่ง), พรรคประชาธิปัตย์ (25 ที่นั่ง), พรรคชาติไทยพัฒนา (10 ที่นั่ง) และพรรคชาติพัฒนากล้า (2 ที่นั่ง)นับถอยหลัง 10 ส.ค. นี้ “ทักษิณ” เดินทางกลับไทย
อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่ต้องจับตา หลังจากที่ “อุ๊งอิ๊ง” แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย ประกาศ “ทักษิณ ชินวัตร” จะกลับไทยแน่นอน 10 ส.ค.นี้ โดยเครื่องบินส่วนตัว คาดการณ์ลงที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งปัจจุบันนายทักษิณยังมีคดีที่ค้างระหว่างการ ไต่สวนอย่างน้อย 2-3 คดี ก่อนหน้านี้จะมีมติชี้มูล และมีมติไม่ชี้มูลไปแล้วหลายคดี
นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงขั้นตอนกลับประเทศของนายทักษิณว่า เมื่อมาถึงประเทศจะต้องผ่านขั้นตอนตรวจคนเข้าเมือง สำหรับผู้ที่มีหมายจับเจ้าหน้าที่จะแสดงหมายและบันทึกการจับกุมตามขั้นตอน จากนั้นจะต้องนำตัวไปยังศาลตามคำสั่งหรือหมายศาลที่แจ้งมายังกรมราชทัณฑ์ หากเป็นคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะควบคุมตัวคุณทักษิณมายัง
เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่ ณ ขณะนี้ทางราชทัณฑ์ยังไม่ได้รับหมายศาลใด
สำหรับกระบวนการจำแนกคัดกรองผู้ต้องขัง แม้จะเป็นกรณีของนายทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ราชทัณฑ์ก็ดำเนินการตามขั้นตอนทั่วไป เป็นไปตามระเบียบการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง โดยจะมีการตรวจสอบประวัติ ทำทะเบียนประวัติ อย่างไรก็ตาม คุณทักษิณถือเป็นผู้ต้องขังสูงอายุ หากเจ้าตัวมีโรคประจำตัวที่จะต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ทางราชทัณฑ์จะมีแพทย์ประจำเรือนจำ ที่จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการจำแนกผู้ต้องขัง โดยจะนำตัวไปยังห้องกักโรคของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ทำการกักโรคเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ประมาณ 10 วัน ถัดไปจึงเข้าสู่กระบวนการรักษาโรค ย้ายไปยังหอผู้ป่วยคล้ายกรณีของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอแนวทางการสื่อสาร
1. นำเสนอความคืบหน้าตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของ ศาลรัฐธรรมนูญและรัฐสภา
2. หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ให้สร้างความเข้าใจกับประชาชนตามแนวทางของคำวินิจฉัย (ให้ประชาชนเข้าใจว่าที่ตัดสินแบบนี้เพราะอะไร มีหลักการอย่างไร?)
3. ติดตามการจับขั้วทางการเมือง เน้นจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ระมัดระวังการนำเสนอสมมติฐานที่นำไปสู่ความขัดแย้ง เช่น รัฐบาลเสียงข้างน้อย

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar