ฟังวิทยุออนไลน์

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5
รัฐบาลเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนและจะเข้าฤดูหนาว อากาศไม่ถ่ายเทจะทำให้มีฝุ่นละอองสะสม ดังนั้น รัฐบาลได้คำนึงถึงคุณภาพอากาศที่ดี และปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ กำชับให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังสถานการณ์ วางแผนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ขอให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัวระมัดระวัง และดูแลตัวเองเป็นพิเศษ พร้อมเน้นย้ำให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด
ปรับปรุงค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM 2.5
• ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2566 เป็นต้นไป เป็น 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (เดิม 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ) และปรับปรุง ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย (Air Quality Index : AQI) ให้มีความสอดคล้องกับค่ามาตรฐานใหม่ ทำให้ระบบการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
• ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร การรายงานคุณภาพอากาศ การคาดการณ์คุณภาพอากาศ ได้รวดเร็วขึ้นผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Air4Thai พร้อมขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
สถานการณ์คุณภาพอากาศพื้นที่ทั่วประเทศ
ภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ จ.สมุทรสาคร และ
จ. สมุทรปราการ
• กรุงเทพหานครและปริมณฑล อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 17 พื้นที่ อาทิ พื้นที่เขตบางบอน หนองแขม บางรัก ปทุมวัน ตลิ่งชัน เป็นต้น
• ภาคเหนือ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 6.2 - 21.8 มคก./ลบ.ม.
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 6.6 - 23.8 มคก./ลบ.ม.
• ภาคกลางและตะวันตก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 16.8 - 31.3 มคก./ลบ.ม.
• ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 7.4 - 26.1 มคก./ลบ.ม.
• ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 7.1 - 15.9 มคก./ลบ.ม.>ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 7.1 - 15.9 มคก./ลบ.ม.
ข้อแนะนำสุขภาพ ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
• สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
• ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมยกระดับมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในช่วงปี 2567
• กำหนดพื้นที่เป้าหมายแบบมุ่งเป้าลดพื้นที่เผาไหม้ในพื้นที่ เผาซ้ำซาก คือ 10 ป่าอนุรักษ์ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ
• การจัดระเบียบควบคุมผู้ใช้ประโยชน์ การทำกติการ่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน
• เพิ่มประสิทธิภาพการบัญชาการสถานการณ์ไฟป่า การตั้งจุดตรวจสกัด พร้อมดึงประชาชนเข้ามาเป็นแนวร่วม
• เร่งนำระบบการรับรองผลผลิตทางเกษตรแบบไม่เผา (GAP PM 2.5 Free) มาใช้
ยกระดับการเจรจาเป็นระดับทวิภาคีและใช้เงื่อนไขทางการค้าเพื่อลดปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดยดึงภาคเอกชนร่วมลงทุนแก้ไขปัญหา โดยให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจตอบแทน มีเป้าหมายดังนี้
1. พื้นที่เผาไหม้ 10 ป่าอนุรักษ์ 10 ป่าสงวน ลดลงร้อยละ 50
2. พื้นที่เกษตรกรรมเผาไหม้ ลดลงร้อยละ 50
3. ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ลดลงร้อยละ 40
4. จำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน ลดลงร้อยละ 30
ขณะที่คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อเสนอแนะมาตรการหารือแนวทาง ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับปัญหาภาวะทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่
8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ และพะเยา โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5
โดยให้ ทส. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับ กค. อว. กษ. มท. สธ. สงป. สนง. ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอดังกล่าว โดยให้ ทส. สรุปผลพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้ สลค. ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอ ครม. ต่อไป
กรุงเทพฯ เตรียมรับมือสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
กรุงเทพฯ ร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษ มีแผนดำเนินการทุกวัน 365 วัน ตั้งแต่ในเรื่องติดตามเฝ้าระวัง มีการทำ Riskmap เพื่อลงในแผนที่ที่จะสามารถจะเข้าถึงพื้นที่ได้ทันทีมีการปรับปรุงแอปพลิเคชัน AirBKK เพื่อให้ประชาชนวางแผนการเดินทางและการป้องกันตน การเผาในที่โล่ง ใช้ประชาชนเป็นแนวร่วม โดยแบ่งเงินรางวัลนำจับให้กับผู้แจ้งเหตุ กำจัดต้นตอ โดยตรวจควันดำ ณ แหล่งกำเนิดอู่รถเมล์ พื้นที่ก่อสร้าง ป้องกันประชาชน โดยทำห้องปลอดฝุ่น มีการติดตั้งเครื่องฟอก การออกมาตรการ WFH ซึ่งร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษในการพยากรณ์ ซึ่งขณะนี้มีเอกชนเข้าร่วมรวมพนักงาน กว่า 40,000 คน ที่สามารถให้ความร่วมมือได้ทันที
พื้นที่และช่วงเวลาที่มักเกิด PM 2.5
• กรุงเทพมหานคร มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงกุมภาพันธ์ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว
• ภาคตะวันออกและตะวันตก มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม เพราะได้รับผลกระทบจากการเผาพื้นที่การเกษตร เช่น ไร่อ้อย
• ภาคเหนือและภาคกลาง มักเกิดฝุ่นในช่วงมกราคม - เมษายน เนื่องจากได้รับความกดอากาศต่ำจากกรุงเทพมหานคร ที่แผ่ขึ้นไปยังภาคเหนือ
• ภาคใต้ มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ซึ่งมาจากการเผาพื้นที่การเกษตร และหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่พัดเข้ามา
แนวทางการสื่อสาร
1. แจ้งเตือนข้อมูลฝุ่นก่อนและระหว่างเกิดสถานการณ์
2. นำเสนอการเตรียมความพร้อมและแนวทางการแก้ไขปัญหาแต่ละพื้นที่
3. รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตของประชาชนเพื่อลดฝุ่นละอองในพื้นที่ต่าง ๆ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar