ฟังวิทยุออนไลน์

ผลักดัน Soft Power ไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลลอยกระทง

รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญกับการส่งเสริม Soft power ของประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญ
ในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนโครงการ แผนงาน และมาตรการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบสูง ผ่านคอนเทนต์ 11 อุตสาหกรรม ได้แก่ อาหาร กีฬา เฟสติวัล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ
การออกแบบและแฟชั่น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในเวทีโลก
ส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่กับการผลักดัน Soft power ของไทย
จากนโยบายของรัฐบาลที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์ พาวเวอร์แห่งชาติ ซึ่งมีการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งใน 11 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ของประเทศผ่านต้นทุนทางวัฒนธรรม Soft Power of Thailand อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่น และกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคุณภาพ รวมถึงพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก พร้อมผลักดันไปสู่เป้าหมายภาพรวมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยตามที่ตั้งไว้ของปี 2566 และส่งผลต่อเนื่องถึงปี 2567
เป้าหมาย Soft Power สาขาท่องเที่ยว ดำเนินงานเป็น 3 ระยะ
- 100 วันแรก ทำแพลตฟอร์มเชื่อมโยง Talent กับผู้ประกอบการ, Tourism Entrepeneur Outreach Program, ทำ Service Brand ของประเทศ
- 6 เดือนแรก ส่งเสริม Online - Digital content ในต่างประเทศ, International travel Blogger's Exchange, ตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว, ดึงงาน International Travel มาจัดที่ไทย
- 1 ปีแรก Thailand Tourism Data Center, ดันเมืองท่องเที่ยวไทยเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (UCCN), พัฒนาแหล่งท่องเทียวยั่งยืนตาม GSTC, เป็น Creative Powerhouse โลก
Thailand Winter Festival
เทศกาลรับลมหนาว “Thailand Winter Festivals” หนึ่งในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวช่วงปลายปี ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ พร้อมจัดอีเว้นท์ใหญ่ตามสถานที่สำคัญทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า “Thailand Winter Festival” ถือเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ท่องเที่ยวไทยครั้งยิ่งใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล สำหรับช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2566 ถือเป็นช่วงการท่องเที่ยวคึกคักที่มีการเดินทางของนักท่องเที่ยวมากที่สุด และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพิ่มแรงส่งทางการท่องเที่ยว
5 Big Event สำคัญของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.)
• กิจกรรมสีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง ปี 2566 นำเสนอประเพณีลอยกระทงอันทรงคุณค่า เน้นย้ำความสุขอย่างวิถีไทย
• Amazing Thailand Marathon Bangkok 2023 ตอกย้ำความพร้อมของกรุงเทพฯ ประเทศไทยก้าวสู่ Sport Tourism Destination ระดับโลก คาดว่าจะสร้างรายได้กว่า 580 ล้านบาท
• กิจกรรม Amazing Thailand Passport Privileges มอบสิทธิประโยชน์การใช้จ่ายสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวไทยแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ
• Vijit Chao Phraya 2023 แต่งแต้มสีสันแนวแม่น้ำเจ้าพระยายาม ค่ำคืนตลอดทั้งเดือนธันวาคม
• ส่งท้ายด้วยกิจกรรม Amazing Thailand Countdown 2024 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ตอกย้ำภาพลักษณ์ประเทศไทย เป็น Global Countdown Destination ยอดนิยมในใจของนักท่องเที่ยว ทั่วโลก
ส่งเสริมท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเปิดแหล่งโบราณสถานสำคัญยามค่ำคืน
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขานรับนโยบายรัฐบาลจัดเทศกาล
ตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ เปิดแหล่งโบราณสถานสำคัญและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในยามค่ำคืน ภายใต้เทศกาล Thailand Winter Festival ช่วงส่งท้ายปี 2566 โดยกรมศิลปากรจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวแหล่งมรดกวัฒนธรรม เปิดแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสความสวยงามในยามค่ำคืน ช่วยสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน ซึ่งกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจะผลักดันให้ไทยเป็นที่รู้จักและเป็นจุดหมายปลายทางปลายปี ซึ่งแหล่งโบราณสถานที่จะเปิดให้เข้าชมยามราตรี ได้แก่
• วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
• พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา
• อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร
• อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
• อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย
• โบราณสถานเวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่
• พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ
ไฮไลท์สำคัญกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลลอยกระทง
• กรุงเทพฯ
- “ลอยกระทง สายน้ำแห่งวัฒนธรรม Loy Krathong : River of Culture” ณ วัดอรุณราชวรารามฯ
- สะพานพระราม 8 กิจกรรมลอยกระทงจากวัสดุธรรมชาติ, การแสดงพื้นบ้านและวัฒนธรรมไทย เช่น ละครชาตรี ลำตัด จำอวดหน้าม่าน และหุ่นละครเล็ก, สินค้าชุมชน Bangkok Band จาก 50 เขต, กิจกรรมถ่ายรูปย้อนยุค, กิจกรรมประดิษฐ์กระทงธรรมชาติ
- Colorful Bangkok Winter Festival นำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านเทศกาลลอยกระทง - ศิลปะ - แสงสี - ดนตรี -กิจกรรมเคานต์ดาวน์
ทั่วเกาะรัตนโกสินทร์ จากคลองผดุงกรุงเกษมสู่ริมเจ้าพระยา นับเป็นก้าวสำคัญของการส่งเสริม และเพิ่มมูลค่าแก่ต้นทุนทางวัฒนธรรม Soft Power ได้อย่างเป็นรูปธรรม
• ภูมิภาคต่าง ๆ
- ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
- ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 26 - 28 พฤศจิกายน
- ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีป 1,000 ดวง จังหวัดตาก
- ประเพณีสมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป จังหวัดร้อยเอ็ด
- ประเพณีงานลอยกระทงกาบกล้วย จังหวัดสมุทรสงคราม
- ประเพณีลอยกระทงสวรรค์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ประเพณีล่องสะเปาจาวละกอน จังหวัดลำปาง
- สีฐานเฟสติวัล 2566 “บุญสมมาบูชานาค” จังหวัดขอนแก่น
- งานสืบสานประเพณีลอยกระทงห่มผ้าพระเจดีย์กลางน้ำ จังหวัด
ระยอง
- ประเพณีลอยกระทงกะลาสาย กะลาสี จังหวัดนครสวรรค์
- ประเพณี ยี่เป็ง จังหวัดเชียงราย
ไทยเตรียมเสนอลอยกระทงมรดกโลก
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญ เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย
ที่สะท้อนวิถีชุมชนริมสายน้ำที่เป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมอันหลากหลาย นอกจากนี้ ถือเป็นการสนันสนุนนโยบายรัฐบาลมุ่งผลักดันการใช้ “Soft Power” ความเป็นไทยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทำให้เกิดรายได้มาสู่ประชาชนและประเทศ
ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมเตรียมเสนอประเพณีลอยกระทงให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) โดยจะนำเสนอยูเนสโกใน 3 ประเด็น คือ
1. มิติพิธีกรรมและประเพณี คือ การปฏิบัติอันดีงามของคนที่สืบทอดมา แต่สมัยโบราณ ในการนำดอกไม้ ธูปเทียนใส่ในกระทงลอยในแม่น้ำในช่วงเวลา ที่งดงามและเหมาะสม
2. มิติศิลปหัตถกรรมจากภูมิปัญญาการประดิษฐ์กระทงที่มีเอกลักษณ์ ของคนไทย เกิดการคิดค้นประดิษฐ์กระทงในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยภูมิปัญญา งานดอกไม้ ใบตอง เครื่องหอม และเกิดงานสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ เช่น กระทงรักษาสิ่งแวดล้อมย่อยสลายง่าย
3. การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนตามแนวทางองค์การสหประชาชาติ หรือ SDG สิ่งที่ปรากฎเป็นรูปธรรม ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่ส่งเสริมการเท่าเทียมกันในสังคม ไม่จำกัด เพศ อายุ วัย เชื้อชาติ นอกจากนี้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับผู้คนในพื้นที่ ด้านสังคมประเพณีลอยกระทง ทำให้มีการรวมตัวของผู้คน ร่วมแรงร่วมใจทำกิจกรรมตามความเชื่อและศาสนา ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี ด้านศาสนาเป็นการสร้างจิตสำนึกในการแทนคุณ บำเพ็ญกุศลทำความดีให้จิตใจเบิกบาน ประเพณีนี้ยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งหาก ครม. มีมติเห็นชอบจะเสนอไปยังยูเนสโก ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar