ฟังวิทยุออนไลน์

รัฐบาลประกาศวาระแห่งชาติ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง แถลงวาระแห่งชาติ เรื่อง ‘การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ’ เปิดเผยว่า ปัญหาหนี้สินนอกระบบเป็นปัญหาเรื้อรังและใหญ่เกินกว่าจะแก้ปัญหาได้โดยไม่มีภาครัฐเป็นตัวกลาง ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องบูรณการหลายภาคส่วนเข้ามาแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และกระทรวงการคลัง เพื่อไม่ให้ประชาชนกลับไปอยู่ในวงจรหนี้สินนอกระบบ
แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบบูรณาการผ่าน 2 หน่วยงาน
กระทรวงมหาดไทยจะบูรณาการความร่วมมือ และกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกันกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วยเหลือลูกหนี้ นอกจากนี้จะมีการประสานเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้การแก้ปัญหานอกระบบไม่ซ้ำซ้อน และเป็นไปในทางเดียวกัน รวมทั้งจะดำเนินการให้ถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด ให้สามารถตรวจสอบถ่วงดุลกันได้ โดยจะกำหนดแผนการดำเนินการ เป้าหมาย และตัวชี้วัดให้ชัดเจน
ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในมิติการบังคับใช้กฎหมาย จะดำเนินการด้านการสืบสวน จับกุม และดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบในทุกรูปแบบ โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะการทวงหนี้โดยใช้ความรุนแรง
กฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ เช่น พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยแม้กฎหมายหลักคือ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 จะไม่มีการระบุไว้ว่าห้ามคิดดอกเบี้ยเกินเท่าใด แต่ในทางกฎหมาย ก็คือจะยึดหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ การให้กู้เงิน ต้องห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี แต่สำหรับธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้และคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ เพราะมีกฎหมายแยกเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยให้กู้ยืมเงินของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินออกมาอีกต่างหาก อย่างไรก็ตาม พบว่าในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราบัญญัติไว้ว่า “บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน เช่น เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
เปิดลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ 1 ธ.ค. นี้
กระทรวงมหาดไทย สั่งการให้ทุกจังหวัด อำเภอ และสำนักงานเขต ดำเนินการตั้ง “ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ" ประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้นอกระบบที่มีความประสงค์ขอรับการช่วยเหลือ หรือให้ทางราชการแก้ไขปัญหา เตรียมลงทะเบียนในระบบ ผ่านเว็บไซต์ https://debt.dopa.go.th
กรณีไม่สามารถดำเนินการได้เองทางระบบออนไลน์ สามารถเดินทางไปลงทะเบียนด้วยตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอ และหากอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ลงทะเบียนที่สำนักงานเขตทุกแห่ง หรือผ่านช่องทางสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ธนาคารรัฐดูแลหนี้นอกระบบ หลังไกล่เกลี่ยฯ และปรับโครงสร้างหนี้
ธนาคารออมสิน ให้สินเชื่อกับลูกหนี้ไม่เกิน 5 หมื่นบาท/ราย และระยะเวลาผ่อนชำระ 5 ปี รวมทั้งมีโครงการสินเชื่อสำหรับอาชีพอิสระไม่เกิน 1 แสนบาท/ราย ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 8 ปี และคิดดอกเบี้ยตามความสามารถของลูกหนี้
• ธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส)
ดูแลลูกหนี้ที่นำที่ดินไปขายฝากกับเจ้าหนี้นอกระบบ โดยหนี้ที่มีการแก้ไขแล้วหรือไกล่เกลี่ยฯ เรียบร้อยแล้ว ธ.ก.ส. จะเข้าไปปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้ที่เป็นเกษตรกร ไม่เกิน 2.5 ล้านบาท/ราย ส่วนเจ้าหนี้นอกระบบที่สนใจจะประกอบกิจการให้ถูกกฎหมาย ก็สามารถมายื่นขออนุญาตประกอบกิจการพิโกไฟแนนซ์ได้ ซึ่งวันนี้มีผู้ขออนุญาตแล้วกว่า 1,000 รายทั่วประเทศ
ซึ่งเมื่อรัฐบาลเข้าไปเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ย จะต้องมีการคิดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมาย คือ ไม่เกิน 15% ต่อปี หากลูกหนี้รายใดจ่ายเกินยอดหนี้ไปแล้วให้ถือว่าเป็นอันจบกัน
สำรวจหนี้ครัวเรือนไทย อยู่ในระดับเฝ้าระวัง
สภาพัฒน์ฯ เปิดเผย ตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทย พุ่งมาอยู่ที่ 16 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น หนี้รถ : 1.83 ล้านล้านบาท, หนี้บัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล : 2.88 ล้านล้านบาท, หนี้ธุรกิจ : 4.36 ล้านล้านบาท และหนี้บ้าน : 5.41 ล้านล้านบาท
ข้อมูลตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน 2566 พบว่า ช่วงปี 2560 ถึง 2565 สัดส่วนคนไทยมีหนี้เพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 37% ของประชากรทั้งหมด และ 57% ของคนไทยที่มีหนี้นั้น มีหนี้เกิน 100,000 บาท เฉลี่ยหนี้ต่อคน 520,000 บาท และคนไทย 32 % หรือเกือบ 1 ใน 3 มีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไป
หนี้ครัวเรือนไทยเทียบกับจีดีพีในไตรมาส 2 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 86.3% ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรก แต่หนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 80% ของ GDP เป็นระดับที่ต้องเฝ้าระวัง และอาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต สร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน และอาจลุกลาม ไปเป็นปัญหาสังคม ซึ่งจะยิ่งแก้ไขได้ยากขึ้น
สาเหตุครัวเรือนไทยเป็นหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้นหนี้นอกระบบคนไทยสูงขึ้นหลังโควิด-19
สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า หนี้นอกระบบของภาคครัวเรือนไทยครึ่งแรกของปี 2564 สูงถึง 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงจากช่วงก่อน
โควิดในปี 2563 ที่อยู่ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท หรือ 78% เป็นการกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหลังจากที่หนี้นอกระบบมีแนวโน้มลดลงในปี 2563 โดยรายละเอียดการกระจายตัวของหนี้นอกระบบภาคครัวเรือน กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยเป็นส่วนใหญ่ อยู่ที่ 9.2% จากจำนวนครัวเรือนที่มีหนี้ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ของครัวเรือนกลุ่มที่เป็นหนี้นอกระบบนี้มักจะกู้ยืมหนี้นอกระบบเพียงอย่างเดียว ดอกเบี้ยหนี้นอกระบบสูงเป็นเท่าตัว
งานวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิบายรูปแบบ ของหนี้ว่า มี 2 รูปแบบดังนี้
1.หนี้เงินสด
- เก็บเงินดอกเบี้ยรายวัน
- บวกทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไว้ด้วยกัน
- ส่วนใหญ่คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20
2. เงินกู้ในลักษณะดอกลอย
- คือ เงินกู้ที่มีการเก็บดอกเบี้ยทุกวันจนกว่าจะนำเงินต้นมาคืนเป็นก้อน
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะอยู่ที่ร้อยละ 5-20
นอกจากหนี้นอกระบบแล้ว ในวันที่ 12 เดือนธันวาคมนี้ รัฐบาลจะมีการแถลงเรื่องภาพรวมหนี้แบบครบวงจร ซึ่งจะครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบ และหนี้นอกระบบอีกครั้งหนึ่ง
แนวทางการสื่อสาร
1. ทำความเข้าใจรายละเอียด และมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชน
2. นำเสนอประโยชน์ของการขอรับความช่วยเหลือ และช่องทางต่าง ๆ
ในการขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล
3. นำเสนอวิธีการ แนวทางบริหารด้านการเงิน เช่น การออมเงิน, การกู้เงินอย่างถูกกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูล และแหล่งเงินกู้ที่ถูกต้อง
ครม. มีมติเห็นชอบการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการแล้ว โดยจะปรับขึ้นในอัตรา 10% เป็นระยะเวลา 2 ปี ในปีงบประมาณ 2567 - 2568 คาดว่าจะเริ่มต้นการขึ้นเงินเดือนงวดแรกได้ภายหลังจากงบประมาณปี 2567
มีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปีนี้
แนวทางการปรับเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการ
พลเรือน (ก.พ.) ได้สรุปผลการประชุมร่วม 4 หน่วยงาน สำนักงาน ก.พ. , สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณซึ่งได้ข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็น “ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ” รวมไปถึงลูกจ้างรัฐ ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี
การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละปีให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการก่อนวันที่อัตราแรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับอย่างน้อย 10 ปี
อัตราเงินเดือนข้าราชการใหม่
การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ ทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) ในอัตราร้อยละ 10 ภายใน 2 ปี เช่น คุณวุฒิระดับปริญญาตรี จากเดิม 15,000 บาท เป็น 16,500 บาท ในปีที่ 1 และปรับเป็น 18,150 บาท ในปีที่ 2 ส่วนผู้ที่ปฏิบัติงาน ในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี และปรับอัตราเงินเดือนของ คุณวุฒิอื่น ๆ ให้สอดคล้องกัน
ทั้งนี้ ยังเห็นควรปรับเพดานเงินเดือนรวมค่าครองชีพชั่วคราว จากเดิมเงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท และปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญขั้นต่ำ จากเดิม 10,000 บาท เป็น 11,000 บาท
ส่วนกลุ่มข้าราชการที่บรรจุเข้ามาก่อน 1 - 2 ปี ที่การปรับฐานเงินเดือนใหม่จะเริ่มต้นขึ้นนั้น จะมีการพิจารณาการปรับฐานเงินเดือนขึ้นมาใหม่ให้มากขึ้นกว่าข้าราชการบรรจุใหม่ที่ได้เงินเดือน 18,000 เล็กน้อย เพื่อให้มีช่องว่างระหว่างเงินเดือนของข้าราชการเดิมที่เพิ่งเข้ามาก่อนหน้าไม่นานและข้าราชการบรรจุใหม่ด้วย
ทั้งนี้ ระดับผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้อำนวยการในระดับซี 9 จะไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนเพราะมีฐานเงินเดือนที่สูงอยู่แล้ว
เงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่
วุฒิการศึกษา ปวช. ปัจจุบัน 8,400-10,340 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 10,340-11,380 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 11,380-12,520 บาท
วุฒิการศึกษา ปวส. ปัจจุบัน 11,500-12,650 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 12,650-13,920 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 13,920-15,320 บาท
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ปัจจุบัน 15,000-16,500 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 16,500-18,150 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 18,150-19,970 บาท
วุฒิการศึกษา ปริญญาโท ปัจจุบัน 17,500-19,250 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 19,250-21,180 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 21,180-23,300 บาท
วุฒิการศึกษา ปริญญาเอก ปัจจุบัน 21,000-23,100 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 23,100-25,410 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 25,410-27,960 บาท
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ 3 ครั้งที่ผ่านมาปี 2551
ครม. มีมติเห็นชอบเรื่อง ‘การช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้น’ โดยเห็นชอบขยายเพดานเงินเดือนของข้าราชการเพื่อให้ได้รับค่าครองชีพเพิ่มขึ้น จากอัตราขั้นต่ำ 7,700 บาท เป็น 8,200 บาท และจากอัตราขั้นสูง 11,000 บาท เป็น 11,700 บาท รวมทั้งให้ปรับเงินช่วยเหลือการครองชีพของเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นที่ได้รับในลักษณะเช่นเดียวกับเงินค่าครองชีพของข้าราชการ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2551
ครม.เห็นชอบ ‘หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551’ โดยปรับปรุงบัญชีเงินเดือน ‘ขั้นต่ำ - ขั้นสูง’ ของข้าราชการพลเรือนสามัญ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทบริหาร ,ประเภทอำนวยการ ,ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป
ทั้งนี้ ในการปรับบัญชีเงินเดือน ‘ขั้นต่ำ - ขั้นสูง’ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าว แม้ว่า ครม. ให้หลักการว่า ต้องส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณน้อยที่สุด แต่เมื่อมีการปรับบัญชีจริง ผลปรากฏว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการในภาพรวมปรับเพิ่มขึ้น 4%ปี 2555
ครม.มีมติเห็นชอบ ‘การปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ’โดยในส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น กำหนดอัตราเงินเดือนแรกบรรจุให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาลในอีก 2 ปีถัดไป โดยให้อัตราเงินเดือนแรกบรรจุขั้นต่ำของวุฒิปริญญาตรีในปีที่ 2 เท่ากับ 15,000 บาท ปีที่ 1 เท่ากับ 13,000 บาท ส่วนวุฒิ ปวส. ปีที่ 2 เท่ากับ 11,500 บาท ปีที่ 1 เท่ากับ 10,200 บาท เป็นต้น ปี 2557
ครม. มีมติเห็นชอบ ‘การยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ’ โดยให้ข้าราชการ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น สำหรับระบบเงินเดือนแบบขั้น หรือ 4% ของอัตราเงินเดือน สำหรับระบบเงินเดือนแบบช่วง ณ วันที่บัญชีเงินเดือนข้าราชการมีผลใช้บังคับ ส่วนข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูง (เงินเดือนตัน) และได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ให้นำ ‘ค่าตอบแทนพิเศษ’มารวมเป็นเงินเดือน
แนวทางการสื่อสาร
1. ทำความเข้าใจกับประชาชนว่า การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการในรอบ 12 เดือน ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำ และค่าจ้างในภาคเอกชนมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องสอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจและความรู้ความสามารถ
2. นำเสนอว่าการปรับขึ้นเดือนข้าราชการเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ เพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ระบบราชการมากขึ้น
3. สร้างความชัดเจนว่า เงินเดือนแรกรับข้าราชการ 18,000 บาท ไม่ได้เพิ่มในทันที แต่จะเพิ่มในลักษณะบันได 2 ขั้น (ภายในระยะเวลา 2 ปี)
4. นำเสนอถึงหลักการปรับเงินเดือน ข้าราชการและพนักงานของรัฐ อย่างมีเเบบเเผน เเละอิงตามการปรับเงินเดือนในปี 2555

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar