ฟังวิทยุออนไลน์

ครม. ไฟเขียวขึ้นเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ 10%

ครม. มีมติเห็นชอบการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการแล้ว โดยจะปรับขึ้นในอัตรา 10% เป็นระยะเวลา 2 ปี ในปีงบประมาณ 2567 - 2568 คาดว่าจะเริ่มต้นการขึ้นเงินเดือนงวดแรกได้ภายหลังจากงบประมาณปี 2567
มีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปีนี้
แนวทางการปรับเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการ
พลเรือน (ก.พ.) ได้สรุปผลการประชุมร่วม 4 หน่วยงาน สำนักงาน ก.พ. , สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณซึ่งได้ข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็น “ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ” รวมไปถึงลูกจ้างรัฐ ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี
การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละปีให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการก่อนวันที่อัตราแรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับอย่างน้อย 10 ปี
อัตราเงินเดือนข้าราชการใหม่
การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ ทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) ในอัตราร้อยละ 10 ภายใน 2 ปี เช่น คุณวุฒิระดับปริญญาตรี จากเดิม 15,000 บาท เป็น 16,500 บาท ในปีที่ 1 และปรับเป็น 18,150 บาท ในปีที่ 2 ส่วนผู้ที่ปฏิบัติงาน ในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี และปรับอัตราเงินเดือนของ คุณวุฒิอื่น ๆ ให้สอดคล้องกัน
ทั้งนี้ ยังเห็นควรปรับเพดานเงินเดือนรวมค่าครองชีพชั่วคราว จากเดิมเงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท และปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญขั้นต่ำ จากเดิม 10,000 บาท เป็น 11,000 บาท
ส่วนกลุ่มข้าราชการที่บรรจุเข้ามาก่อน 1 - 2 ปี ที่การปรับฐานเงินเดือนใหม่จะเริ่มต้นขึ้นนั้น จะมีการพิจารณาการปรับฐานเงินเดือนขึ้นมาใหม่ให้มากขึ้นกว่าข้าราชการบรรจุใหม่ที่ได้เงินเดือน 18,000 เล็กน้อย เพื่อให้มีช่องว่างระหว่างเงินเดือนของข้าราชการเดิมที่เพิ่งเข้ามาก่อนหน้าไม่นานและข้าราชการบรรจุใหม่ด้วย
ทั้งนี้ ระดับผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้อำนวยการในระดับซี 9 จะไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนเพราะมีฐานเงินเดือนที่สูงอยู่แล้ว
เงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่
วุฒิการศึกษา ปวช. ปัจจุบัน 8,400-10,340 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 10,340-11,380 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 11,380-12,520 บาท
วุฒิการศึกษา ปวส. ปัจจุบัน 11,500-12,650 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 12,650-13,920 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 13,920-15,320 บาท
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ปัจจุบัน 15,000-16,500 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 16,500-18,150 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 18,150-19,970 บาท
วุฒิการศึกษา ปริญญาโท ปัจจุบัน 17,500-19,250 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 19,250-21,180 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 21,180-23,300 บาท
วุฒิการศึกษา ปริญญาเอก ปัจจุบัน 21,000-23,100 บาท ปีที่ 1 ปรับเพิ่มเป็น 23,100-25,410 บาท ปีที่ 2 ปรับเพิ่มเป็น 25,410-27,960 บาท
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ 3 ครั้งที่ผ่านมาปี 2551
ครม. มีมติเห็นชอบเรื่อง ‘การช่วยเหลือการครองชีพข้าราชการระดับต้น’ โดยเห็นชอบขยายเพดานเงินเดือนของข้าราชการเพื่อให้ได้รับค่าครองชีพเพิ่มขึ้น จากอัตราขั้นต่ำ 7,700 บาท เป็น 8,200 บาท และจากอัตราขั้นสูง 11,000 บาท เป็น 11,700 บาท รวมทั้งให้ปรับเงินช่วยเหลือการครองชีพของเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นที่ได้รับในลักษณะเช่นเดียวกับเงินค่าครองชีพของข้าราชการ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2551
ครม.เห็นชอบ ‘หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551’ โดยปรับปรุงบัญชีเงินเดือน ‘ขั้นต่ำ - ขั้นสูง’ ของข้าราชการพลเรือนสามัญ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทบริหาร ,ประเภทอำนวยการ ,ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป
ทั้งนี้ ในการปรับบัญชีเงินเดือน ‘ขั้นต่ำ - ขั้นสูง’ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าว แม้ว่า ครม. ให้หลักการว่า ต้องส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณน้อยที่สุด แต่เมื่อมีการปรับบัญชีจริง ผลปรากฏว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการในภาพรวมปรับเพิ่มขึ้น 4%
• ปี 2555
ครม.มีมติเห็นชอบ ‘การปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ’ โดยในส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น กำหนดอัตราเงินเดือนแรกบรรจุให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาลในอีก 2 ปีถัดไป โดยให้อัตราเงินเดือนแรกบรรจุขั้นต่ำของวุฒิปริญญาตรีในปีที่ 2 เท่ากับ 15,000 บาท ปีที่ 1 เท่ากับ 13,000 บาท ส่วนวุฒิ ปวส. ปีที่ 2 เท่ากับ 11,500 บาท ปีที่ 1 เท่ากับ 10,200 บาท เป็นต้น ปี 2557
ครม. มีมติเห็นชอบ ‘การยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ’ โดยให้ข้าราชการ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น สำหรับระบบเงินเดือนแบบขั้น หรือ 4% ของอัตราเงินเดือน สำหรับระบบเงินเดือนแบบช่วง ณ วันที่บัญชีเงินเดือนข้าราชการมีผลใช้บังคับ ส่วนข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูง (เงินเดือนตัน) และได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ให้นำ ‘ค่าตอบแทนพิเศษ’มารวมเป็นเงินเดือน

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar