ฟังวิทยุออนไลน์

เกาะติด ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2567

ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเตรียมเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวาระแรกในวันที่ 3 - 5 ม.ค. 67
แนวคิดการจัดทำร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 67
•สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนในระดับต่าง ๆ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และนโยบายสำคัญของรัฐบาล
•ให้ความสำคัญกับการดำเนินการ เพื่อยกระดับประเทศในทุกมิติ
•ให้ความสำคัญกับ อปท. เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจ
•การจัดการบริการสาธารณะ
•เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงินทุน
•ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และ มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง
งบประมาณปี 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท เอาไปทำอะไรบ้าง ?
สาระเนื้อหาร่างงบประมาณปี 2567 วงเงิน 3,480,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2566 จำนวน 295,000 ล้านบาท (วงเงิน 3,185,000 ล้านบาท)
จากกรอบรายจ่ายดังกล่าว จำแนกตามยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน ดังนี้
•ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง วงเงิน 391,738.2 ล้านบาท
คิดเป็น 11.26%
•ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน วงเงิน 592,294.1 ล้านบาท คิดเป็น 17.02%
•ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาการและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมุนษย์ วงเงิน 561,954.2 ล้านบาท คิดเป็น 16.15%
•ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม วงเงิน 951,786.4 ล้านบาท คิดเป็น 27.35%
•ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วงเงิน 247,329.6 ล้านบาท คิดเป็น 7.10%
•ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ วงเงิน 734,942.5 ล้านบาท คิดเป็น 21.12%
การจัดสรรงบประมาณในปี 2567 งบส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมถึงร้อยละ 27.35 รองลงมาเป็นการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ร้อยละ 21.12 และการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันร้อยละ 17.02
จำแนกงบประมาณตามช่วงวัย ประชาชนได้อะไรจากงบฯ ปี 67
•วัยเด็ก อายุ 0 – 6 ปี
- เงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด/เงินอุดหนุนสงเคราะห์เด็กขาดแคลน/เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์/กองทุนคุ้มครองเด็ก
•วัยเรียน
- ระดับประถม - มัธยม และอาชีวะศึกษา มีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนและด้อยโอกาสให้เข้าถึง/จัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี/สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียน (อาหารกลางวัน/นม)
- ระดับอุดมศึกษา : สนับสนุนทุนการศึกษา (ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และทุนประเภทอื่น ๆ) และ ผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข
•วัยแรงงาน
- กองทุนประกันสังคม/กองทุนการออมแห่งชาติ/เงินอุดหนุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ/ค่าใช้จ่ายเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจน/ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพวิถีใหม่ เป็นต้น
•วัยสูงอายุ
- เบี้ยผู้สูงอายุ/เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก/เงินอุดหนุนปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน/กองทุนผู้สูงอายุ/เงินอุดหนุนการจัดการศพ
งบประมาณปี 67 สะท้อนการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลอย่างไร ?
•ระยะสั้น กระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาเร่งด่วน 32,192.57 ล้านบาท
- แก้ปัญหาหนี้สิน
- ลดภาระค่าใช้จ่ายพลังงาน
- ผลักดันการท่องเที่ยว
•ระยะกลางและระยะยาว 1.375 ล้านล้านบาท
- สร้างรายได้ เช่น การทูตเชิงรุกเจรจาการค้า การทำ Matching Fund ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่
- สร้างโอกาส เช่น เร่งดำเนินการให้ประชาชนมีที่ดินทำกิน เปิดรับแรงงานและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ สนับสนุน Soft Power และกีฬา
- สร้างคุณภาพชีวิต เช่น พัฒนาระบบสาธารณสุข ยกระดับ 30 บาท การดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 การปราบปรามยาเสพติด
- การวางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เต็มรูปแบบ การปฏิบัติหน้าที่พื้นฐานอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้
กระทรวงที่ได้รับการจัดงบประมาณสูงสุดหลักแสนล้านบาท 5 อันดับแรก
•กระทรวงมหาดไทย 353,127 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6%
•กระทรวงศึกษาธิการ 328,384 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.3%
•กระทรวงการคลัง 327,155 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.7%
•กระทรวงกลาโหม 198,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2%
•กระทรวงคมนาคม 183,635 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.8%
กระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยที่สุด 5 อันดับแรก
•กระทรวงพลังงาน 2,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%
•กระทรวงอุตสาหกรรม 4,559 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2%
•กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 5,591 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6%
•กระทรวงพาณิชย์ 6,822 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9%
•กระทรวงวัฒนธรรม 7,016 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% 

ดูน้อยลง

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar