ฟังวิทยุออนไลน์

ครม. อนุมัติปรับวงเงินค่ารักษาพยาบาลให้นายจ้างจ่ายเงินเพิ่ม

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่..) พ.ศ. ...ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยร่างกฎกระทรวงนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2567 ร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
ข้อ 2 เมื่อเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
ข้อ 2. เมื่อเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 65,000 บาท
ข้อ 3 ในกรณีที่ค่ารักษาที่จ่ายตามข้อ 2 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินหนึ่งแสนบาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้...
(3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ
ข้อ 3 ในกรณีที่ค่ารักษาที่จ่ายตามข้อ 2 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินหนึ่งแสนบาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้...
(3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะ
ปรับอัตราค่ารักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าการปรับอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย เป็นการปรับอัตรา ค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีความก้าวหน้า ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับนี้จึงเป็นการคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสมแก่อันตราย หรือความเจ็บป่วย
นอกจากนี้ ยังเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าใช้จ่าย ของลูกจ้าง ซึ่งคาดว่าอาจส่งผลกระทบต่อนายจ้างที่จะต้องจ่ายเงินสมทบตามค่าประสบการณ์เพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานะของกองทุนเงินทดแทน จึงไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียรายได้ของรัฐ หรือของหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยกระทรวงแรงงาน ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ
กองทุนเงินทดแทน คุ้มครองอะไรบ้าง
กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเป็นรายปีให้กับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งนายจ้างแต่ละบริษัทจะจ่ายเงินสมทบ
ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของธุรกิจ โดยกองทุนเงินทดแทนจะใช้ ในกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น
ปัจจุบัน กฎหมายได้กำหนดให้นายจ้างในทุกประเภทกิจการและ ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไป มีหน้าที่ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนประกันสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นหลักประกันให้กับลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็กและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับนายจ้างบางกลุ่มในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
• เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียว จะเรียกเก็บจากนายจ้างเป็นรายปี โดยประเมินจำนวนเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน (คนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี) คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการระหว่างอัตรา 0.2 - 1.0% โดยนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายในอัตราเงินสมทบหลักที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัย ตามรหัสประเภทกิจการของนายจ้างนั้น
• เงินสมทบตามค่าประสบการณ์ เพื่อให้นายจ้างให้ความสนใจในการจัดสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยรวมทั้งอุปกรณ์ป้องกันให้แก่ลูกจ้าง ให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยหลังจากนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบตามอัตราหลัก 4 ปีติดต่อกันแล้ว จะมีการคำนวณอัตราส่วนการสูญเสียเพื่อลดหรือต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราเงินสมทบหลักที่นายจ้างต้องจ่าย ในครั้งแรกที่ขึ้นทะเบียน โดยจะเริ่มจ่ายเงินตามอัตราประสบการณ์ ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป
•กิจการที่ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องจ่ายเงินสบทบ
- ราชการ / ส่วนกลาง / ส่วนภูมิภาค / ส่วนท้องถิ่น
- กิจการของรัฐวิสาหกิจ
- นายจ้างจากกิจการที่ประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชนตามกฎหมาย
ว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครู หรือครูใหญ่
- นายจ้างที่ดำเนินกิจการที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร
ทางเศรษฐกิจ
- นายจ้างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ลูกจ้างยื่นขอเงินทดแทนอย่างไร
นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจแจ้งตามแบบ กท.16 โดยยื่นเรื่อง
ณ สำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา
ซึ่งสามารถส่งเอกสารได้โดยตรงที่สำนักงานประกันสังคมหรือส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง หรือลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหาย หรือหากการเจ็บป่วยเกิดหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบ
การเจ็บป่วย

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar