ฟังวิทยุออนไลน์

สาธารณสุขให้ความสำคัญสิทธิประโยชน์มารดา

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการและความเห็นในภาพรวมของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เรื่อง สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตร กรณีการบริโภคโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9)
สาธารณสุขเจ้าภาพหลักป้องกันความพิการแต่กำเนิดในระดับชาติ
1. แผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการมีส่วนร่วมจากทุก
ภาคส่วนในการร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ (ส่งเสริมโภชนศึกษาและการเสริมวิตามินธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม และกรดโฟลิก 2.8 มิลลิกรัม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ให้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ตามชุดสิทธิประโยชน์ ผ่าน 2 โครงการสำคัญ)
1.1. โครงการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์และลดความพิการแต่กำเนิด (โครงการสาวไทยแก้มแดง)
1.2 โครงการวิวาห์สร้างชาติ ส่งเสริมให้คู่รักทุกคู่มีการเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงานและมีบุตร
2. การให้บริการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดครอบคลุมทั่วประเทศและรายงานผลการตรวจคัดกรองเพื่อให้ได้รับการรักษาทันเวลา
3. พัฒนาเรื่องการดำเนินงานการจดทะเบียนพิการแต่กำเนิดระดับประเทศ
บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนป้องกันเด็กพิการแต่กำเนิด
สาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนงานระดับประเทศในการดูแลรักษาและป้องกันเด็กพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างจัดทำคำสั่ง สธ. เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
รัฐบาลผลักดันจัดทำกฎหมายสิทธิของมารดาช่วงก่อนและหลังคลอดบุตร
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีรายการเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และลดความพิการแต่กำเนิดอยู่ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม
- กรดโฟลิก (วิตามิน B9) 0.4 มิลลิกรัม
- ไอโอดีน 150 ไมโครกรัมต่อวัน รับประทานทุกวันตลอดการตั้งครรภ์
- หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 25 - 45 ปี ได้รับธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัมและกรดโฟลิก (วิตามิน B9) 2.8 มิลลิกรัม ต่อสัปดาห์
- สปสช. ปรับการจ่ายค่าบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการเป็นการจ่ายตามรายการบริการ (Fee Schedule) กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับบริการพื้นฐาน เช่น บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก 80 บาทต่อครั้ง (แบบเหมาจ่ายคนละ 1 ครั้งต่อปี) โดยประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ณ หน่วยบริการสาธารณสุข ทั้งในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยบริการร่วม เช่น ร้านขายยา คลินิกพยาบาล
รณรงค์และประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9)
- ให้หน่วยงานของรัฐบูรณาการความร่วมมือในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และมารดาในช่วงระหว่างก่อน และหลังการคลอดบุตรทราบถึงประโยชน์ของโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9)
- สธ. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เรื่องสิทธิและประโยชน์ของการได้รับบริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและวิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9)
- กระทรวงศึกษาธิการจัดทำกรอบหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการเรียนรู้ด้านสุขศึกษา แก่เยาวชนทุกระดับ
- กระทรวงแรงงานสนับสนุนการบูรณาการการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวในสถานประกอบการ และกำกับ ดูแล และส่งเสริมให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่น ๆ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar