ฟังวิทยุออนไลน์

ติดตามภารกิจนายกฯ ร่วมประชุมอาเซียน - ออสเตรเลีย

นายกฯ ออกเดินทางร่วมการประชุม สุดยอดอาเซียน - ออสเตรเลีย
สมัยพิเศษ (2024 ASEAN - Australia Special Summit) เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ ระหว่างวันที่ 4 - 6 มีนาคม 2567 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยนายกรัฐมนตรีจะหยิบยกประเด็นสำคัญที่เป็นประโยชน์กับไทยในการประชุมฯ ที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ ได้แก่
ความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ (Seamless Logistics) ทั้งด้านการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ซึ่งรวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี การลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ท่าเรือ โครงการ Landbridge และ โครงการ EEC) เศรษฐกิจดิจิทัล และการอำนวยความสะดวกด้านวีซ่า รวมทั้งวาระสีเขียว (Green Agenda)
ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
นายกฯ หารือทวิภาคีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และลาว
ออสเตรเลีย ด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม - เห็นพ้องในการส่งเสริมการค้าทวิภาคี โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย (Thailand - Australia Free Trade Agreement : TAFTA) โดยจะปรับปรุงความตกลงฯ ให้ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันมากขึ้น โดยเน้นย้ำว่า ไทยมีจุดเด่นในการเป็นศูนย์กลางความมั่นคงด้านอาหารและผลิตภัณฑ์ การแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพ (medical and wellness) รวมทั้งมีโครงการ Landbridge ที่สำคัญต่อการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างเอเชียตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย ขณะที่ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ไทยให้ความสนใจที่จะส่งเสริมการลงทุนและเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดจากออสเตรเลียในด้านเกษตรกรรม พลังงานสีเขียว ยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอัจฉริยะด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ไทยคำนึงถึงร่างกฎหมายกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ของรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันไทยส่งออกรถยนต์ไปยังออสเตรเลียมากกว่า 200,000 คันต่อปี และมีรถกระบะเป็นสินค้าส่งออกหลัก
ด้านการท่องเที่ยวและการศึกษา ไทยพร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดทำ MoU ด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยเสนอแนะให้มีการส่งเสริมเที่ยวบินตรงระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มจำนวนโควตา Work and Holiday Visa ไทย - ออสเตรเลีย ขณะที่ด้านการศึกษา ไทยยินดีส่งเสริมการตั้งสาขาของสถาบันการศึกษาออสเตรเลียในไทย ส่งเสริมหลักสูตรอาชีวศึกษา โดยเน้นการแลกเปลี่ยนบุคลากรและร่วมพัฒนาหลักสูตร รวมถึงอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราระหว่างกันเพื่อตอบโจทย์ความร่วมมือทางการศึกษาด้านความมั่นคงและด้านแรงงาน ทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการทหาร และพัฒนาบุคลากรทางการทหารระหว่างกัน รวมทั้งยินดีกับความร่วมมือภายใต้โครงการ ASEAN-Australia Counter Trafficking (ASEAN-ACT) และการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ขณะที่ด้านแรงงาน นายกฯ พร้อมอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานของทั้งสองฝ่าย รวมไปถึงกลุ่ม digital nomads จากออสเตรเลียมาไทย และแรงงานจากไทยไปออสเตรเลียที่ขาดแคลน ขณะเดียวกันได้เสนอให้ออสเตรเลียพิจารณาถึงการจ้างงานชั่วคราวของเกษตรกรชาวไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจริเริ่มเป็นโครงการนำร่องหรือแต่ละพื้นที่ที่มีความต้องการแรงงานได้
ด้านความร่วมมือพหุภาคี การเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และสามารถร่วมมือกับอนุภูมิภาคฯ ในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายสนใจและสอดคล้องกับบริบทร่วมกันได้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเดินทางระหว่างกัน ผลักดันแนวคิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยง 6 ประเทศ สนับสนุนแคมเปญ “ปีแห่งการท่องเที่ยวลาว (Visit Laos Year 2024)” และขอให้ฝ่ายลาวเร่งรัดการกำหนดที่ตั้งของ Common Control Area (CCA) ในฝั่งลาว เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายในการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยฝ่ายไทยเห็นควรว่าให้ตั้งที่บริเวณมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร - สะหวันนะเขต) เป็นที่แรก นอกจากนี้ ตามที่ฝ่ายลาวมีคำขอ ไทยยินดีสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการซ่อมสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย - เวียงจันทน์) และไทยพร้อมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปี ของสะพานในปีนี้
ด้านการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ นายกฯ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติด และการฉ้อโกงออนไลน์ (Online scam)
นิวซีแลนด์ผลักดันความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน พร้อมแสวงหาความร่วมมือในสาขาใหม่ที่มีศักยภาพ
เดือนเมษายนนี้ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์จะเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีของทั้งสองประเทศ ส่งเสริมการเยือนในระดับสูง พร้อมผลักดันความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ที่มีศักยภาพร่วมกัน โดยนำคณะนักธุรกิจในภาคการเกษตร การศึกษา digital economy พลังงานสีเขียว นอกจากนี้ยังได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับการยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมหารือกันต่อไป
หารือเอกชนรายใหญ่ออสเตรเลีย หวังดึงนักลงทุนสร้างมูลค่าเพิ่มในไทย
บริษัท Fortescue ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองแร่โลหะ เป็นบริษัทถลุงสินแร่เหล็กอันดับ 4 โลก และผลิตพลังงานสีเขียว แสดงความสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรีไฮโดรเจนและไฮโดรเจนสีเขียวในประเทศไทย
บริษัท Linfox ให้บริการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์อัจฉริยะมีสำนักงานและศูนย์ควบคุมสำหรับภูมิภาคในไทย มีแผนที่จะตั้งศูนย์ Regional Traffic Control Fleet ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเข้ามาในประเทศไทย และสนใจเข้าเป็นผู้ให้บริการใน Cold Storage Facility ที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงถึงการสร้างขึ้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
บริษัท Redflow เป็นผู้ผลิตระบบกักเก็บพลังงานเทคโนโลยีสังกะสี-โบรมีน ปัจจุบันมีฐานการผลิตในออสเตรเลียและไทย
มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมในไทย แต่อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการผลิตร่วมกับโรงงานไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวพร้อมสนับสนุนการอำนวยความสะดวก ขอให้กระทรวงพลังงานช่วยผลักดัน
บริษัท ANCA เป็นผู้นำด้านการผลิตเครื่องขึ้นรูป CNC และระบบเครื่องจักรต่างๆ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ รถยนต์ ยา ฯลฯ ซึ่งต้องการที่จะขยายฐานการผลิตเครื่องจักรในไทย แต่ติดขัดอยู่ที่ข้อตกลงทางการค้าของไทย (FTA) ที่ยังไม่ครอบคลุม นายกรัฐมนตรีจึงได้ขอให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและผู้แทนการค้าไทยเร่งรัดการเจรจาข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ เพื่อให้การค้าการลงทุนมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น บริษัท NextDC เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในประเทศออสเตรเลีย อยากที่จะขยายการลงทุนการสร้าง Data Center ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเรื่องการจ้างงาน การถ่ายโอนเทคโนโลยี และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลบริษัท HESTA กองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพและสังคมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย สนใจลงทุนด้าน Green Transformation Healthcare และ Clean Energy AI และ Agritech ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนเพิ่มการลงทุนในบริษัทไทยที่มีศักยภาพด้วย
ภารกิจของนายกรัฐมนตรีหลังจากนี้ จะมีกำหนดการเยือนประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี เพื่อมุ่งกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกันในหลายด้าน ซึ่งรวมถึงการผลักดันการค้าและการลงทุนที่ไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของนโยบายการทูตเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย - ยุโรป (EFTA) โดยมีกำหนดการคร่าว ๆ ดังนี้
ในวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 นายกฯ เดินทางต่อไปยังกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม ITB Berlin 2024 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว, พูดคุยกับทางบริษัท Volkswagen เกี่ยวกับเรื่องของโรงงาน ที่สนใจมาตั้งโรงงานที่ประเทศไทย
8 - 12 มี.ค. เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ โดยจะมีการหารือกับภาคเอกชนของฝรั่งเศสประมาณ 15 บริษัท ด้านแฟชั่น อากาศยาน ยานยนต์ สื่อสาร และจะเข้าพบนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสในวันที่ 11 มี.ค. 256712 - 13 มี.ค. นายกรัฐมนตรีจะเริ่มการเยือนเยอรมนีอย่างเป็นทางการ โดยจะพบนายโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีในวันที่ 13 มี.ค. 2567 และจะพบภาคเอกชนของเยอรมันอีก 4 - 5 ราย ด้านยานยนต์ เทคโนโลยี เซมิคอนดักเตอร์
เดินทางกลับประเทศไทยในวันพฤหัสบีดีที่ 14 มีนาคม โดยช่วงเย็น จะมีการประชุมสำคัญกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาด้วย

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar